|
 |
|
| |
 |
|
.jpg) |
|
 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ปลานิลที่เราบริโภค เป็นปลาที่สร้างอาชีพและรายได้มากมายแก่ประชาชนคนไทย เป็นปลาน้ำจืดที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจหลายร้อยล้าน ได้รับความนิยมบริโภคมาก บางท่านอาจจะไม่ทราบ นึกว่าปลานิลเป็นปลาพื้นเมืองของไทย แต่ในความเป็นจริงปลานิลเป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในลุ่มแม่น้ำไนล์ (Nile ) และปลานิลเป็นปลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย โดย เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโต เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้น้อมเกล้าฯ ถวายปลาน้ำจืดในตระกูลทิลาเปีย (tilapia) จำนวน 50 ตัว แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในระยะแรกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำปลาดังกล่าวไปเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ บริเวณพระตำหนักสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ต่อจากนั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายปลาลงเลี้ยงในบ่อดิน และต่อมาในเวลาประมาณ 5 เดือนเศษ ปรากฏว่าในบ่อที่เลี้ยงมีลูกปลาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดบ่อดินเพิ่มขึ้นเป็น 6 บ่อ เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2508 ได้ทรงปล่อยปลาลงเลี้ยงในบ่อเหล่านั้นด้วยพระองค์เอง และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่กรมประมงทำการตรวจสอบการเจริญเติบโตของปลาทุกเดือน ซึ่งผลการตรวจสอบพบว่า ปลาชนิดนี้เจริญเติบโตได้รวดเร็วมาก มีขนาดเฉลี่ยถึง 178.8 กรัม ในระยะเวลา 6 เดือน ดังนั้นจึงได้มีพระราชประสงค์ที่จะให้ปลาชนิดนี้แพร่ขยายพันธุ์ อันจะเป็นประโยชน์แก่พสกนิกรของพระองค์ต่อไป ดังนั้นเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2509 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อปลาชนิดนี้ว่า "ปลานิล"และได้พระราชทานปลานิล ขนาดยาว 3-5 เซนติเมตร จำนวน 10,000 ตัว ให้แก่ กรมประมงนำไปเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ ที่แผนกทดลองและเพาะเลี้ยงภายในบริเวณเกษตรกลางบางเขนและที่สถานีประมงต่าง ๆ ทั่วพระราชอาณาจักรไทย รวม 15 แห่ง เพื่อดำเนินการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์พร้อมกัน ซึ่งปลานิลแพร่ขยายพันธุ์ออกไปได้มากเพียงพอแล้ว จึงได้แจกจ่ายให้แก่ราษฎรนำไปเพาะเลี้ยงตามความต้องการต่อไป
ด้วยปลานิลได้รับความนิยมเลี้ยงมีการปรับปรุงพันธุ์เพื่อการลดการแคระแกร็นเนื่องจากเลือดชิด จึงมีการนำเข้าปลานิลจากแหล่งต่างทั่วโลกเข้ามาในประเทศ ปลานิลที่มีในไทยเริ่มแรกเราจึงมักเรียกปลานิลชนิดนี้ว่า ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา และในปัจจุบันกรมประมงได้มีการปรับปรุงพันธุ์ให้มีการเจริญเติบโตไวและทนต่อโรคและสภาพแวดล้อม แต่ยังคงชื่อเดิมว่าปลานิลสายพันธุ์จิตรลดาแต่มักจะมีตัวเลขต่อในแต่ละรุ่นเช่น สายพันธุ์จิตรลดา 7 เป็นต้น ปลานิลที่เราเลี้ยงโดยธรรมชาติปลาตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย ส่งผลให้ปัจจุบันได้พยายามหาเทคนิคให้ปลาที่เราเพาะพันธุ์มีสัดส่วนเป็นปลาตัวผู้มากกว่าปลาตัวเมีย ดังนั้นเราคนไทยควรจะช่วยกันดูแลรักษาให้ธุรกิจปลานิลที่พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานให้คนไทย เพื่อเป็นแหล่งของโปรตีน อาหาร อาชีพ คงอยู่สืบไป
|
|
|
|
|